วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ

symbol.gif
โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ

จัดทำโดย

      1.นายกิตติพันธ์  เทพโภชน์ รหัสนักศึกษา 55191440110
                 2.นายกิตติศักดิ็    สุดโสม      รหัสนักศึกษา 55191440111


โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำนำ
รายงานโครงงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของ วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 1031101o ในเรื่อง แนงความคิด ที่มาและความสำคัญ เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินงานโครงงาน ผลการดำเนินงานโครงงาน สรุปผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ
จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้แก่คนที่สนใจ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ ไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการ ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย


      จัดทำโดย
นาย กิตติพันธ์ เทพโภชน์ และคณะ
26  พฤศจิกายน 2557


















สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ  ก
สาระบัญ  ข
บทคัดย่อ  ค
บทที่1 บทนำ
วัตถุประสงค์    1
ขอบเขตของโครงงาน    1
ผลที่คาดว่าจะได้รับ    1
บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของซอฟต์แวร์    2
ซอฟต์แวร์ระบบ    3-12
บทที่3 วิธีดำเนินงานโครงงาน
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ระบบ                    13
ขั้นตอนการดำเนินงาน    13
บทที่4 ผลการดำเนินงานโครงงาน
ผลการศึกษาซอฟต์แวร์ระบบ    14
บทที่5 สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
การดำเนินงานจัดทำโครงงาน    15
สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน    15
ข้อเสนอแนะ    15
บรรณานุกรม    16
ภาคผนวก
ประวัติส่วนตัว






รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ
ผู้เสนอโครงงาน :
1.นายกิตติพันธ์  เทพโภชน์ รหัสนักศึกษา 55191440110
2.นายกิตติศักดิ็  สุดโสม รหัสนักศึกษา 55191440111
ประเภทของโครงงาน : โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ผู้เสนอโครงงาน :
1.นายกิตติพันธ์  เทพโภชน์ รหัสนักศึกษา 55191440110
2.นายกิตติศักดิ็  สุดโสม รหัสนักศึกษา 55191440111

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ จัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาความรู้ความเข้าใจไปใช้ในการเรียน ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาความรู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และเพื่อจัดเตรียมและบำรุงรักษาแพลตฟอร์มจากการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น โดยผู้จัดทำโครงงานสามารถรู้และเข้าใจประเภทของซอฟแวร์รบบได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น







บทที่ 1
บทนำ
แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
        ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ต่อทุกวงการทั่วโลก รวมทั้งวงการศึกษาไทยด้วย และผลพวงที่ติดตามมาในแง่เทคนิควิธีการเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้คือแนวโน้มในการเรียนรู้แบบโต้ตอบสองทาง (Interactive) ที่กาลังก้าวเข้ามาแทนที่กระบวนการเรียนรู้แบบเดิม ที่ผู้รับได้แต่ “รับเอา” โดยไม่อาจ “เลือก” แต่อย่างใด จากแนวคิดดังกล่าว ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนในทุกระดับ มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผู้เรียนรุ่นใหม่จะเป็นผู้เรียนที่มีความคิดรักการเรียนรู้ มีหลักในการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มีความรู้ทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น จึงเป็นที่ยอมรับว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศการจัดการศึกษาจึงต้องมีการปรับตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการจัดการเรียนการสอนนั้น ได้มีข้อกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ว่า รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตและผู้ใช้ให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะตลอดจนผู้เรียนให้มีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาเพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
        ดังนั้นเพื่อให้เป็นบทเรียนที่เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ ขณะเดียวกันผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบทีมในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการ
เรียนรู้ และยังทำให้เข้าใจถึงซอฟแวร์ระบบอย่างท่องแท้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องซอฟต์แวร์ระบบ
2. เพื่อศึกษาให้เข้าใจกับซอฟต์แวร์ระบบ
ขอบเขตของโครงงาน
1. จัดทำโครงงานเรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องซอฟต์แวร์ระบบ
2. ได้รู้เกี่ยวกับกับซอฟต์แวร์ระบบ


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1 ความหมายของซอฟต์แวร์
การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์
ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
ระบบปฏิบัติการ.jpg
2 ซอฟต์แวร์ระบบ
            ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพ ให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนซอฟต์แวร์ระบบทั้งสิ้น
เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงาน ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ (load) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น
                            2.1 ระบบปฏิบัติการกับการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์
                                        ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลเก็บไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งานหรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก
นอกจากนี้ ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ จำเป็นต้องมีความสามารถในการทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงานในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน เช่น การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล
                            2.2 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
                        เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ แต่ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมาก ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
                                (1) ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส
                            (2) ประเภทใช้หลายงาน (multitasking) ระบบปฏิบัติการสามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลาและเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น แบ่งปันเวลาในการประมวลผลของซีพียู และการแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ 98
                              (3) ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จได้ในเวลา ระบบปฏิบัติการในกลุ่มนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที
                            2.3ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
                                        เนื่องจากระบบปฏิบัติการจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมใช้งาน ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงมีหลายชนิด ปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานกันแพร่หลายมีดังนี้
                                            (1) ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System : DOS) บริษัทไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาและให้ชื่อว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้มอบหมายให้บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการโดยให้ชื่อว่า พีซีดอส ต่อมาเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์แบบนี้เป็นที่แพร่หลาย จึงมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานแบบเดียวกับไมโครคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม ไมโครคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะใช้ระบบปฏิบัติการของบริษัทไมโครซอฟท์เช่นกันแต่ใช้ชื่อว่าเอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System : MS-DOS) ซึ่งมีการทำงานคล้ายพีซีดอส แต่ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว
2000px-StartingMsdos2.jpg
                                            (2) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการประเภทใช้หลายคน และหลายงาน ได้มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ให้สามารถใช้กับเครื่องชนิดต่างๆ หลายระบบโดยตั้งชื่อใหม่ เช่น ซีนิกซ์ (Xenix) วีนิกซ์ (Venix) ไมโครนิกซ์ (Micronix) เอไอเอ็กซ์ (AIX) อัลทริกซ์ (Altrix) เป็นต้น ปัจจุบันมีความพยายามจะกำหนดให้ระบบปฏิบัติการที่มีชื่อต่าง ๆ เหล่านี้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ระบบยูนิกซ์นี้ มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องขึ้นกับเครื่องแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ
unix-wallpaper1.jpg
                                            (3) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะการใช้งานแตกต่างจาก 2 ระบบแรกที่กล่าวมา เนื่องจากมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) เป็นแบบที่เรียกว่าระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphic User Interface : GUI) หรือที่เรียกว่าจียูไอ คือมีการแสดงผลเป็นรูปภาพ และใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการเลือก (menu) หรือสัญรูป (icon) ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์แทนการพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น ทั้งยังมีสีสันทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้น
Microsoft_Windows_(horizontal).png
                                                        ระบบปฏิบัติการวินโดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป ทั้งนี้นอกจากจะเป็นเพราะความง่ายในการใช้งานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังเป็นเพราะหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตระบบปฏิบัติการนี้ออกสู่ตลาด ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ในกลุ่มซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน หรือซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้ในทุกๆ ด้าน ทำให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ ที่สนับสนุนการใช้งานกับเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วินโดวส์ 3.0 (Windows 3.0) ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่ทำงานบนเครื่องเดียว พัฒนาเป็นรุ่นหรือเวอร์ชั่น (version) ที่สามารถทำงานเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายภายในองค์กรที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ และพัฒนาต่อมาเป็นวินโดวส์ 95(Windows 95) วินโดวส์ 98 (Windows 98) วินโดวส์ เอ็มอี(Windows ME) และพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่สามารถจัดการด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย จัดการด้านการใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน และดูแลจัดสรรและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น วินโดวส์ เอ็นที (Windows NT) วินโดวส์ 2000(Windows 2000) และวินโดวส์ เอ็กซ์พี (Windows XP) หรือแม้แต่ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาอย่างวินโดวส์ ซีอี (Windows CE)
Windows ล่าสุด Windows 10 Windows_10_Product_Family-610x342.png
Windows ล่าสุด Windows 10 จะเป็นระบบปฏิบัติการที่รวมออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์และทุกขนานหน้าจอรวมถึงทุกๆรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานร่วมกับหน้าจอทัชสกรีน หรือร่วมกับเมาส์และคีย์บอร์ดตามปกติ นอกจากนี้นักพัฒนายังสามารถสร้างแอพแบบ Universal app ให้สามารถใช้งานได้กับทุกๆอุปกรณ์ที่ใช้งานระบบ windows 10 นี้ได้ทันที
ในแง่ของการใช้งาน Microsoft ได้ออกแบบมาให้ใกล้เคียงกับการใช้งานระบบ Windows 7 มากที่สุด โดย Microsoft ให้เหตุผลว่า เพราะคนหลายล้านคนยังใช้งานระบบ Windows 7 อยู่ และ Microsoft ต้องการให้คนเหล่านี้เปลี่ยนมาใช้ระบบ Windows 10 ได้อย่างง่ายดายและไม่ขัดต่อความรู้สึกมากนัก แต่ยังคงหลายๆอย่างของ Windows 8 เอาไว้อยู่ (เช่นแอพแบบ modern หรือหน้าจอ modern UI บางส่วน)
windows10startmenu5_1020_verge_super_wide-610x457.jpg
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การนำปุ่ม start menu แบบใน Windows 7 กลับมาและการนำหน้าจอ modern/metro บน Windows 8 ออกไป ทั้งนี้จะบอกว่า Microsoft เอาหน้าจอ Modern ของ Windows 8 ออกไปทั้งหมดคงไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะ Microsoft ได้จับเอา start menu และ modern UI มารวมกันเป็น start menu ของ Windows 10 นั่นเอง
Live tiles และการเรียกใช้งานแอพแบบ modern (แบบใน Windows 8) จะยังคงอยู่ (ดังภาพ) ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับขนาดและปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับตัวเองได้เช่นเดิม
แต่วิธีการใช้งานแอพแบบ modern หรือแอพที่ติดตั้งผ่าน Windows store จะเปลี่ยนไป จากเดิมที่ระบบจะสลับหน้าจอไปมาระหว่าง desktop แบบปกติไปเป็นหน้าจอแบบ modern แต่ใน windows 10 การใช้งานนี้จะเปลี่ยนไป โดยเราสามารถย่อหน้าต่างการใช้งานแอพแบบ modern บนหน้าจอ desktop ได้เลย (ตามรูป) นั่นทำให้การใช้งานแอพแบบ modern และแอพแบบ desktop จะไม่มีความต่างกันมากในความรู้สึกเหมือนบน Windows 8
ระบบ task view ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนกับคุณสมบัติ Expose บน OSX ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้เราสามารถจัดการแอพที่ทำงานอยู่ในรูปแบบ multi-tasking ได้
Windows_10_Screenshot2-610x343.jpg
นอกจากนี้ยังมีระบบ Multiple desktop ที่เป็นเหมือนกับระบบ sand box ส่วนตัวที่เราสามารถสร้าง desktop สำหรับการทำงานเฉพาะที่เราต้องการได้หลายๆ desktop และสามารถสลับไปมาระหว่างแต่ละ desktop ได้ทันที และมีระบบ snap view ที่เราสามารถเลือกเปิดโปรแกรมหรือแอพไว้ข้างๆกันได้สูงสุดถึง 4 แอพ
Windows_10-610x305.jpg
รายละเอียดอื่นๆนั้น Microsoft ยังเปิดเผยออกมาไม่หมด เพียงแต่ระบุว่า Windows 10 ที่เปิดตัววันนี้นั้น เป็นเพียงระบบในเวอร์ชั่นแรกๆของการพัฒนาเท่านั้น (early build) ส่วนระบบปฏิบัติการ windows 10 รุ่นวางขายจริงคาดว่าจะวางจำหน่ายได้ช่วงหลังจากกลางปีหน้าเป็นต้นไป
Windows-logo_large_verge_medium_landscape.jpg
                                            (4) ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ระบบหนึ่งเช่นเดียวกับซีนิกซ์หรือวีนิกซ์ ได้รับการพัฒนาโดยนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยเฮลซินกิประเทศฟินแลนด์ชื่อลีนุซ ทอร์วาลด์ (Linus Torvalds) เขาเริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าวในปี พ.ศ. 2523 ด้วยเขาต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติยูนิกซ์ที่มีความสามารถมากกว่าไมนิกซ์ซึ่งเขาใช้งานอยู่ จึงเริ่มต้นพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้เอง โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากระบบยูนิกซ์อื่นเลย และในปี พ.ศ. 2534 ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เวอร์ชั่น 0.010 ก็ได้รับการเผยแพร่ โดยมีการแจกให้ใช้งานฟรีรวมทั้งรหัสต้นแบบ (source code) ก็เป็นที่เปิดเผย จึงเป็นที่นิยมและมีผู้นำไปพัฒนาลีนุกซ์ของตนเองขึ้นใช้งานมากมาย รวมทั้งมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ขึ้นใช้งานบนลีนุกซ์อีกด้วย
Ubuntu_Linux_by_Designologer.jpg
                            ด้วยเหตุที่มีผู้นำรหัสต้นแบบของระบบปฏิบัติการระบบนี้มาพัฒนาเป็นของตนเองมากมายและเนื่องจากในปัจจุบันแนวคิดของจียูไอกำลังเป็นที่นิยม จึงมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์ให้สามารถทำงานบนระบบเอกซ์วินโดวส์ (X Windows) X Window System (บางครั้งเรียกว่า "X" หรือ "X Window") เป็นระบบเปิด, ข้ามแพล็ตฟอร์ม, client/server สำหรับการบริหารการอินเตอร์เฟซ แบบ graphical user interface ของ Window บนเครือข่ายแบบกระจาย โดยทั่วไประบบนี้รู้จักในชื่อ Windowing System ใน X Window ความสัมพันธ์ระหว่าง client/server เป็นกลับทิศทางจากปกติ คอมพิวเตอร์ที่ห่างไกลที่เก็บโปรแกรมประยุกต์ จะทำคำขอ client สำหรับการบริการการจัดการจอภาพ ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเวิร์กสเตชัน X Window มีการใช้โดยพื้นฐาน ในเครือข่ายการเชื่อมต่อภายในของเมนเฟรม, มินิคอมพิวเตอร์ และเวิร์กสเตชัน และมีการใช้กับ X terminal ซึ่งเป็นเวิร์กสเตชัน ที่มีความสามารถการบริหารจอภาพ แต่ไม่ต้องมีโปรแกรมประยุกต์ของตัวเอง (X terminal สามารถดูเป็นต้นแบบของ network PC หรือ thin client ที่กำลังได้รับการติดตั้งอย่างกว้างขวาง)
X Window System เป็นผลลัพธ์จากการวิจัยในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ที่ Stanford University และ MIT ซึ่งสนับสนุนโดย IBM ในการพัฒนาโปรโตคอลกราฟฟิกที่เป็นอิสระจากแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ
X Window System เป็นมาตรฐานเปิดที่บริหารโดย X.Org Consortium ถึงแม้ว่า Microsoft จะมี Windowing System แบบขึ้นกับแพล็ตฟอร์มตัวเอง (Window95/98/NT) แต่ก็เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ X Window สามารถติดตั้งบนระบบเหล่านี้
ซึ่งเป็นระบบที่มีการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก และถือได้ว่าลินุกซ์เป็นยูนิกซ์ที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพไม่สูงมาก เช่น เครื่องในตระกูล 80386 ได้ และต้องการหน่วยความจำเพียง 2 เมกะไบต์ในการทำงานบนสภาวะตัวอักษร (text mode) หรือ 64 เมกะไบต์ในการทำงานบนเอกซ์วินโดวส์ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ในสภาวะเอกซ์วินโดวส์
HIDDEN_264_15712_FOTO_Historia_X_Window_System.jpg











บทที่ 3
วิธีดำเนินงานโครงงาน
        ในการจัดทาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องซอฟต์แวร์ระบบ นี้ ผู้จัดทาโครงงานมีวิธีดาเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
        3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ระบบ
                3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
                3.1.2 ซอฟต์แวร์ระบบ
        3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน
                    3.2.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนาเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
                3.2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องซอฟต์แวร์ระบบ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
                    3.2.5 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องซอฟแวร์ระบบ โดยการให้สมัครสมาชิก ติดตั้งและใช้ซอฟแวร์แวร์ระบบที่ตนสนใจ
                    3.2.6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาโครงงานเข้าไปตรวจความก้าวหน้าของโครงงานผ่านเว็บไซต์  http://goo.gl/r379kd ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนามาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น
                    3.2.7 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องซอฟแวร์ระบบ โดยนำเสนอในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์และนำฝากข้อมูลไฟล์
                    3.2.8 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอ แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน และให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมประเมิน โดยการกรอกแบบประเมิน
                    3.2.9 นำเสนอผ่านเว็บบล็อก ที่ http://systemsoftware-ss.blogspot.com/เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ต่อไป





บทที่ 4
ผลการดำเนินงานโครงงาน
        การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องซอฟต์แวร์ระบบ และเพื่อศึกษาให้เข้าใจกับซอฟต์แวร์ระบบ ซึ่งมีผลการดาเนินงานโครงงาน ดังนี้
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตาม
4.1 ผลการศึกษา ซอฟต์แวร์ระบบ
        ขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว สมาชิกทุกคนมีความรู้มีความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ระบบ เป็นอย่างดี และยังสามารถปฏิการลงซอฟต์แวร์ระบบต่างๆให้กับคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย





บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
                5.1.1.1 เพื่อ
ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องซอฟต์แวร์ระบบ
                    5.1.1.2 เพื่อศึกษาให้เข้าใจกับซอฟต์แวร์ระบบ
        5.1.1.3 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ระบบ
                    5.2.1.3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
                    5.2.1.3.2 ซอฟต์แวร์ระบบ
5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
        ขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว สมาชิกทุกคนมีความรู้มีความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ระบบ เป็นอย่างดี และยังสามารถปฏิการลงซอฟแวร์ต่างๆให้กับคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้
5.3 ข้อเสนอแนะ
        5.3.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป
                    5.3.1.1 ควรมีเนื้อหารที่หลากหลายและครอบคุมกว่านี้
                    5.3.1.2 ควรใช้เวลาให้น้อยลงในการดำเนินโครงงาน
        5.3.2 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
                    5.3.2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงานจะทำให้ช้า จึงทำให้การศึกษาเรียนรู้ล่าช้าตามไปด้วย
                    5.3.2.2 เพื่อนบางคนเรียนรู้ค่อนข้างช้า ทำให้ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้ เพราะครูผู้สอนไม่สามารถสอนเนื้อหาเพิ่มเติมได้



บรรณานุกรม
2.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2557 แหล่งข้อมูลจาก
3.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2557 แหล่งข้อมูลจาก































ภาคผนวก
1282654388.jpg
os.gif
ภาพที่ 1 โลโก้ ระบบปฏิบัติการ

windows 8.jpg
ภาพที่ 2 โลโก้ ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด
10814321_762943187086099_383251335_n.jpg
ภาพที่ 3 คณะสืบค้นข้อมูล













ประวัติส่วนตัว





ประวัติส่วนตัวคนที่ 1

10715783_1477793592488127_1059868396_n.jpg

ชื่อ :  นายกิตติพันธ์  เทพโภชน์
ชื่อเล่น : เพชร
เกิด 12 สิงหาคม  2536  ราศี  กรกฎ  อายุ  21  ปี
ที่อยู่ : 17/2 หมู่ 18 ตำบลตาตุม  อำเภอสังขะ  จังหวัดสุรินทร์
จบการศึกษาจาก : โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
กำลังศึกษา : ที่ มหาวิทยาราชภัฏสุรินทร์  ชั้นปีที่  3  สาขาวิชา  ค.บ. คอมพิวเตอร์  หมู่  1 รหัสนักศึกษา  55191440110
กิจกรรมยามว่าง : ฟังเพลง  ดูหนัง
ความใฝ่ฝัน :  คุณครู  เปิดร้านอาหาร  
คติประจำใจ  :  อนาคตอยู่ที่ตัวเราทำ
E – mail : kittipan_pat@hotmail.co.th

ประวัติส่วนตัวคนที่ 2

ชื่อ : นายกิตติศักดิ์  สุดโสม
ชื่อเล่น : แบงค์ เกิด 21 ธันวาคม 2536 ราศี ธันวา  อายุ 20  ปี
ที่อยู่ : ตำบลเมืองลีง  อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
จบการศึกษาจาก : โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ กำลังศึกษา : ที่ มหาวิทยาราชภัฏสุรินทร์
ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา ค.บ. คอมพิวเตอร์ หมู่ 1 รหัสนักศึกษา 55191440111
กิจกรรมยามว่าง : ฟังเพลง  ดูหนัง
ความใฝ่ฝัน : คุณครู
คติประจำใจ : อนาคตอยู่ที่ตัวเราทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น